วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบที่ 1 เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 1 เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)


          ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบ
ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

                         1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

                   2. ซอฟต์แวร์ (Software)

                   3. บุคลากร (Peopleware)


           1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้ หน่วยรับข้อมูล
หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล

                 1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ (Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่นๆอีกได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner),  วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone), ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
       
                2. หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่วๆไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ หน่วยความจำ

                     2.1  หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล
หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำ และแปลคำสั่ง

                     2.2  หน่วยคำนวณ และตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ

                    

                     2.3  หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรม และข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
               3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์  เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
           2.ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
                  

               1. ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix

                2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน  ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ

            3.บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้ และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ มีดังนี้

จอภาพ หรือ monitor

จอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที

เคส (case)

เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)

คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

เมนบอร์ด (Main board)

เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด


ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป


การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผล (Display Card) หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

เมาส์ (Mouse)

เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์
เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว

แรม (RAM)

แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive

CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้
เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ

CD-ROM / DVD-ROM

การทำงานของ CD-ROM / DVD-ROM ภายในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์



          ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (อังกฤษ: USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista/7 แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์

 printer หรือ เครื่องพิมพ์
printer
            printer หรือเครื่องพิมพ์  เป็นอุปกรณ์ Output Deviceซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 ประเภท คือ Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสาร Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความ ละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าน้ำหมึกแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว และพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสาร Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดใน 3 ประเภทมีความละเอียดสูงแต่ราคาค่าหมึกแพงเหมาะกับงานทุก ประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์


 
  Speaker/ลำโพง
      
           

speaker
ลำโพง  นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบ รอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียง Digital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF มาด้วย เพื่อรองรับ การ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียง ให้ดียิ่งขี้น




                Scaner
      

         
scaner
        Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan


                    Cam

        
          
cam
 cam  เป็น Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นน่าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้
สรุปเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เราจะเห็นว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นแต่ละส่วนก็มีความแตกต่างกันไป และวิธีการดูแลรักษาก็แตกต่างกันออกไป  ฉะนั้นเมื่อเราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ การใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่กับเราไปนานแสนนานเลยทีเดียว    ส่วนใครที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็ควรที่จะถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเช็ดถู เป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ก็ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้
แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ์

หน่วยที่ 2 การใช้โปรแกรม word

การใช้โปรแกรม Microsoft Word
                                โปรแกรม Microsoft Word เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เหมาะกับ งานพิมพ์ต่าง ๆ แทนเครื่องพิมพ์ดีดในสมัยก่อน ที่เวลาแก้ไขค่อนข้างยาก ในขณะที่โปรแกรม Microsoft Word สามารถแก้ไข ลบตัวอักษร จัดรูปแบบตัวอักษรได้ง่ายกว่ามาก ดังนั้น ในปัจจุบัน โปรแกรม Microsoft Word จึงเป็นโปรแกรมที่แทนเครื่องพิมพ์ดีดในปัจจุบัน
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word
1.       คลิ๊กปุ่ม Start
2.       ขึ้นไปที่หัวข้อ Program
3.       เลื่อนมาทางขวา คลิ๊กที่ Microsoft Word

การขอเส้นประบอกแนวกั้นหน้ากั้นหลัง

1.       คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
2.       ลงมาคลิ๊กที่ คำสั่ง ตัวเลือก
3.       ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ มุมมอง (แต่โดยปกติจะอยู่ที่หัวข้อ มุมมอง อยู่แล้ว)
4.       คลิ๊กที่ช่อง ขอบเขตข้อความ ให้มีเครื่องหมาย ถูก ขึ้นมา
5.       คลิ๊ก ปุ่ม ตกลง

การเปลี่ยนไม้บรรทัดด้านบน จากการวัดเป็นเซนติเมตร ให้ วัดเป็นนิ้วแทน

1.       คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
2.       ลงมาคลิ๊กที่ คำสั่ง ตัวเลือก
3.       ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ทั่วไป
4.       ลงมาที่คำว่า หน่วยการวัด คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง เลือกคำว่า นิ้ว
5.       ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง

การติดตั้งตัวอักษร และขนาดของตัวอักษร ที่ใช้อยู่ประจำ

1.       คลิ๊กที่เมนู รูปแบบ
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง แบบอักษร
3.       จะขึ้นหน้าต่าง แบบอักษร ในช่อง ข้อความภาษาไทย และอื่น ๆ ให้ปรับตัวอักษร และขนาดที่ต้องการได้เลย เช่น ปรับเป็น Angsana New  ขนาด 16  และในช่อง ข้อความละติน ก็ต้องปรับให้ตัวอักษรเหมือนกันคือ Angsana New ขนาด 16
4.       ด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ค่าเริ่มต้น เครื่องจะถามว่าต้องการติดตั้งไหม คลิ๊กปุ่ม ใช่

การปรับกั้นหลัง

1.       ด้านบนจะมีไม้บรรทัด ซึ่งขณะนี้จะกั้นหลังที่ 5.75 นิ้ว (5 นิ้ว ครึ่ง กับอีก 2 ขีด)
2.       ถ้าต้องการจะกั้นหลังเป็น 6 นิ้ว
3.       ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางที่เส้นแบ่งตรง 5.75 นิ้วของไม้บรรทัด (เหนือเครื่องหมายรูป 5 เหลี่ยม) เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นลูกศร สีดำซ้าย-ขวา แล้วมีข้อความว่า ระยะขอบขวา จากนั้น กดเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากแนวกั้นหลังเป็น 6 นิ้ว
การตั้งระยะชั่วคราว (Tab) แท็ป เช่นถ้าเราต้องการตั้ง แท็ป ที่ 3 นิ้ว กลางกระดาษพอดี
1.       เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ไม้บรรทัดด้านบน ให้ปลายเม้าส์อยู่ใต้เลข 3 พอดี
2.       คลิ๊กเม้าส์ จะเกิดสัญลักษณ์ เป็นรูปตัว L
3.       ถ้าเราจะเลื่อนเคอร์เซอร์มาที่ แท็ป 3 นิ้ว บนแป้นพิมพ์ให้กดปุ่ม Tab
การล้างแท็ป (Clear Tab)
1.       เลื่อนเม้าส์ชี้ตรงสัญลักษณ์แท็ปที่เราต้องการจะล้าง
2.       กดเม้าส์ ค้างไว้ ลากลงมาในกระดาษแล้วปล่อย

การปัดบรรทัดเป็นระยะ 1 ครึ่ง

1.       ให้เคอร์เซอร์อยู่ในบรรทัดที่เราจะปัด 1 ครึ่ง แล้วกดปุ่ม Ctrl +

และถ้าจะกลับเป็นปัด 1 ปกติ

1.       ให้เคอร์เซอร์อยู่ในบรรทัดที่จะปัด 1 ตามเดิม แล้วกดปุ่ม Ctrl +

การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปต้นเอกสาร

                                กดปุ่น Ctrl + Home

การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปท้ายเอกสาร

                                กดปุ่ม Ctrl + End

การจัดข้อความในย่อหน้า ให้ด้านหลังตรงกัน

1.       ให้เคอร์เซอร์ อยู่ในย่อหน้านั้น
2.       ด้านบนในแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ชิดขอบ (ลักษณะเป็นเส้นหน้า-หลัง ตรงกัน)
การตัดคำลงมาบรรทัดใหม่ ในย่อหน้า เมื่อเครื่องตัดคำไม่สวย เราสามารถ ปัดคำนั้นลงมาบรรทัดใหม่ได้โดย
1.       เลื่อนเคอร์เซอร์ ไปข้างหน้าข้อความที่จะตัด
2.       กดปุ่มที่แป้นพิมพ์ คือ Shift + Enter
 

การนำรูปครุฑมาใส่ในจดหมายราชการ

1.       เลื่อนเคอร์เซอร์มาต้นเอกสารก่อน โดยกดปุ่ม Ctrl + Home
2.       คลิ๊กที่เมนู แทรก
3.       ลงมาที่คำสั่ง รูปภาพ
4.       ด้านขวา เลือกคำสั่ง จากแฟ้ม
5.       จะขึ้นหน้าต่าง ถามที่เก็บรูป ซึ่งโดยปกติจะเก็บใน My Documents
6.       คลิ๊กที่แฟ้ม ครุฑ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม แทรก
7.       เครื่องจะดึงรูปครุฑมาใส่ที่จดหมายของเรา แต่จะใส่ไว้ด้านหน้าที่ออกหนังสือ ซึ่ง ณ ขณะนี้เวลาเราลากรูปเพื่อย้ายไปกลางกระดาษจดหมายของเรา จะยังไม่สามารถให้ตำแหน่ง เท้า ครุฑอยู่ตรงกับที่ออกหนังสือได้ ต้องทำขั้นตอนต่อไปครับ

การปรับให้รูปครุฑเคลื่อนย้ายได้อิสระ โดยที่ข้อความที่พิมพ์อยู่กับที่

1.       คลิ๊กที่ รูปครุฑ (จะเกิดเส้นกรอบสีดำขึ้นมาที่รูปครุฑ)
2.       เมื่อคลิ๊กที่รูปครุฑเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีแถบเครื่องมือขึ้นมา 1 แถบคือแถบเครื่องมือ รูปภาพ แต่ถ้า
คลิ๊กที่รูปครุฑไปแล้ว ไม่มีแถบเครื่องมือนี้ขึ้นมา วิธีการเรียกก็คือ เลื่อนเม้าส์ไปด้านบนขวามือ ในส่วนของแถบเครื่องมือ ให้เม้าส์อยู่ในพื้นที่สีเทา หลังแถบเครื่องมือ แล้วคลิ๊ก ขวา ของเม้าส์ จะมีรายชื่อแถบเครื่องมือมาให้เลือก ให้ลงไปคลิ๊กที่แถบ คำว่า รูปภาพ
3.       ที่แถบเครื่องมือรูปภาพ ให้คลิ๊กปุ่มที่ 4 นับจากข้างหลัง (ปุ่มจะเป็นรูปหมา มีกรอบสี่เหลี่ยม) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวาง จะมีคำว่า การตัดข้อความ ให้คลิ๊กลงไป แล้ว ลงไปเลือกคำสั่ง ข้างหน้าข้อความ (รูปครุฑจะเปลี่ยนจากกรอบสีดำ เป็น รอบครุฑเป็น สัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีขาว รอบรูปครุฑ
4.       จากนั้นนำเม้าส์ไปวางในรูปครุฑ คลิ๊กปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนรูปครุฑไปวางไว้กลางกระดาษของจดหมายได้เลย ตอนนี้ ข้อความต่าง ๆ จะอยู่กับที่แล้วครับ ถ้าเลื่อนไปแล้วรู้สึกยังไม่พอดี สามารถเลื่อนละเอียดได้โดยการ กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วใช้ลูกศรสี่ทิศที่แป้นพิมพ์เลื่อนรูปครุฑ จะเป็นการเลื่อนละเอียดขึ้น
การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี
                                ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่
1.       คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)
3.       จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก
                                ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข
1.       คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)
3.       ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว
การเปิดแฟ้มที่เราเคย Save ไว้ขึ้นมาใช้งาน
1.       ด้านบนคลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง เปิด
3.       จากหน้าต่างให้เราคลิ๊กที่แฟ้มที่เราต้องการเปิด
4.       ด้านล่างขวาคลิ๊กที่ปุ่มเปิด

การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี

1.       นำเม้าส์มาลากยังข้อความในส่วนที่ต้องเราการจะเปลี่ยน
2.       ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)
3.       ช่องที่ 2 ที่มีคำว่า Angsana New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Angsana New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย
4.       ช่องที่ 3 ที่มีตัวเลขเป็น 16 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 16 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ
5.       ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป
6.       ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง
7.       ช่องที่ 6 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้
8.       ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ
9.       ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปพู่กัน คือการระบายสี ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังรูปพู่กัน จะมีสี
ต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่ต้องการระบายสี ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี
10.    เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่ไหนก็ได้ในกระดาษ เพื่อยกเลิกแถบ
การออกจากโปรแกรม Microsoft Word
1.       คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำว่า จบการทำงาน
                        หรือ คลิ๊กที่ ปุ่ม กากบาท X ที่อยู่มุมบนสุดขวามือ ของหน้าต่าง อันบน จะมีคำว่า Close เพื่อใช้ในการปิดหน้าต่าง ก็มีค่าเท่ากับการจบการทำงาน

การตีตาราง

1.       เลื่อนเคอร์เซอร์ให้อยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะเริ่มตีตาราง
2.       ด้านบน คลิ๊กที่เมนู ตาราง
3.       เลื่อนลงมาที่คำว่า แทรก
4.       ด้านขวา เลื่อนเม้าส์ คลิ๊กที่คำว่า ตาราง
5.       จะขึ้นหน้าต่าง ถามเราว่า ต้องการตีตารางจำนวน กี่คอลัมน์ (แนวตั้ง) กี่แถว (แนวนอน) เราก็ระบุลงไป แล้ว ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การทำจดหมายเวียน (Mail Merge)
1.       พิมพ์จดหมาย หรือเอกสารที่ต้องการเป็นต้นฉบับให้เรียบร้อยก่อน แล้วทำการ Save ไว้
2.       ตรงไหนที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้ทำการเว้นไว้
3.       จากตัวจดหมายที่พิมพ์ ด้านบน คลิ๊กที่เมนู เครื่องมือ
4.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จดหมายเวียน.......
5.       จะขึ้นหน้าต่างที่ชื่อว่า ตัวช่วยเหลือการสร้างจดหมายเวียน
6.       จากนั้น ในหัวข้อที่ 1 ให้คลิ๊กที่ปุ่มสร้าง แล้วเลือกคำว่า ฟอร์มจดหมาย
7.       จะขึ้นหน้าต่างถามเอกสารที่จะใช้เป็นต้นฉบับ ให้คลิ๊กที่ ปุ่ม หน้าต่างที่ใช้งานอยู่
8.       จากนั้นหน้าต่างจากข้อ 7 จะหายไปกลับมาที่หน้าต่าง ตัวช่วยเหลือการสร้างจดหมายเวียน อย่างเดิม
9.       จากนั้น ในหัวข้อที่ 2 ให้คลิ๊กที่ปุ่ม รับข้อมูล แล้วเลือกคำว่า สร้างแหล่งข้อมูล (เพื่อเริ่มการป้อนข้อมูล)
10.    เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง สร้างแหล่งข้อมูล ให้คลิ๊กปุ่มเอาชื่อเขตข้อมูลออก เพื่อเอาเขตข้อมูลที่อยู่ในช่อง ชื่อเขตข้อมูลในแถวหัวเรื่อง ออกไปให้หมด
11.    จากนั้น ในช่อง ชื่อเขตข้อมูล ให้เราพิมพ์ ชื่อเขตข้อมูลที่เราจะใช้ในจดหมายเวียน ลงไปจนครบ
12.    จากนั้น กดปุ่ม ตกลง เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง เพื่อถามชื่อแฟ้ม ในที่นี้คือชื่อแฟ้มที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลที่เราจะนำมาใช้กับจดหมายของเรา เราก็พิมพ์ชื่อแฟ้มลงไปแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม บันทึก
13.    เครื่องจะขึ้นหน้าต่างขึ้นมา ให้คลิ๊กที่ปุ่ม แก้ไขเอกสารหลัก
14.    จากนั้นหน้าจอจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราป้อนข้อมูลต่าง ๆ ลงไป
15.    เมื่อป้อนข้อมูลทุกอย่างเสร็จ ให้คลิ๊กปุ่ม ตกลง ด้านขวามือ
16.    หน้าจอจะกลับมาที่งานจดหมายของเราอย่างเดิม แต่ด้านบนจะมีแถบเครื่องมืออันที่ 3 เพิ่มขึ้นมาอีก 1 แถบเครื่องมือ ซึ่งแถบเครื่องมือนี้เราเรียกว่า แถบ Mail Merge
17.    จากนั้น ที่ตัวจดหมาย ให้คลิ๊กส่วนที่เราเว้นไว้เพื่อจะดึงข้อมูลมา
18.    ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 3 แถบ Mail Merge ให้คลิ๊กที่คำว่า แทรกเขตข้อมูลผสาน จะมีเขตข้อมูลให้เลือกว่า เราจะนำเขตข้อมูลผสานชื่อไหน เราก็คลิ๊กลงไป เครื่องก็จะพิมพ์ชื่อเขตข้อมูลนั้นลงตรงเคอร์เซอร์ที่เราวางไว้ (แต่เครื่องยังไม่แสดงข้อมูลออกมา)
19.    ทำจนครบทุกช่องว่างที่เราจะเอาเขตข้อมูลมา
20.    จากนั้นถ้าเราอยากดูข้อมูลจริง ที่แถบเครื่องมือ Mail Merge ให้คลิ๊กที่ปุ่ม แสดงข้อมูลผสานปุ่มที่ 3 ที่เป็นรูป << ABC >> สามารถเลื่อนไปข้อมูลที่ 2 , 3 , 4 ได้โดยกดปุ่ม สามเหลี่ยมชี้ขวา ข้างเลข 1
21.    ถ้าไม่ต้องการดูข้อมูลจริงก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม << ABC >>

การขอดูตัวอย่างก่อนพิมพ์

1.       ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่มที่เป็นรูปกระดาษมีแว่นขยาย
2.       เครื่องจะแสดงกระดาษเต็มจอภาพ (ขนาด เอ 4)
3.       กลับมาที่งานพิมพ์อย่างเดิมให้คลิ๊กที่คำว่าปิดด้านบน

การพิมพ์ข้อมูลออกกระดาษ

1.       คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม ด้านบน
2.       เลือกคำสั่ง พิมพ์
3.       กำหนดค่าต่าง ๆ เสร็จแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การตั้งค่าหน้ากระดาษใหม่  โดยปกติโปรแกรม Word จะตั้งค่าหน้ากระดาษไว้ที่กระดาษขนาด เอ 4
1.       คลิ๊กที่เมนู แฟ้ม
2.       ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3.       จะขึ้นหน้าต่าง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
4.       ด้านบนให้คลิ๊กหัวข้อ ขนาดกระดาษ
5.       ในช่อง ขนาดกระดาษ ให้เลือกขนาดกระดาษตามต้องการ หรือจะปรับเองได้ในช่อง ความกว้าง และความสูง อีกทั้งยังปรับได้ว่า จะพิมพ์ตามแนวตั้ง หรือ ตามแนวนอน เสร็จแล้วคลิ๊กปุ่ม ตกลง

  ที่มา http://www.oho888.com/word.htm

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคน



ยินดีต้อนรับนักเรียนที่น่ารักทุกคน เข้าสู่การเรียนแบบออนไลน์